วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลากัด

การเพาะเลี้ยงปลากัด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลากัด
 .
                ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน   ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา   เรียก บ่อนปลากัด  หรือ  บ่อนกัดปลา   มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
                การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก   ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น  เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน   ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม   แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ  เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้   ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม   จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก   ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม   จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด   ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ   สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี   โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง   เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน   แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ
.
      http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 1  ลักษณะภาชนะรูปแบบต่างๆที่สวยงามนำมาใช้เลี้ยงปลากัด
                     
.
1 ประวัติของปลากัด              
                ปลากัดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย  ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง  เช่น หนอง   บึง   หรือชายทุ่งนา   โดยมักพบตามชายฝั่งที่ตื้นๆและมีพรรณไม้น้ำมาก   เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth  Fish  ได้แก่  พวกปลากระดี่ทั้งหลาย   ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ   ทำให้ปลาอาศัยอยู่ในที่มีออกซิเจนต่ำได้   จึงทำให้สามารถเลี้ยงปลากัดในขวดต่างๆที่มีปากขวดแคบๆได้   ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร   โดยจะชอบกินแมลงและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ (Insectivores)        
.
2 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน              
                Nelson (1984)  ได้จัดลำดับชั้นของปลากัดไว้ดังนี้
             Superclass                :   Osteichthyes
                Class                      :   Actinopterygii
                   Order                  :  Perciformes  -- perch-like fishes
                      Suborder          :  Anabantoidei   -- labyrinthfishes
                         Family            :  Osphronemidae Bleeker, 1859 -- giant gouramis
                            Subfamily    :  Macropodinae Liem, 1963
                              Genus        :  Betta 
                ปลากัดที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมานานแล้วนั้นถูกจัดให้เป็นชนิด splendens  หรือมีชื่อวิทยาศษสตร์ว่าBetta splendens, Regan, 1910 ปัจจุบันได้มีการสำรวจพบชนิดของปลากัดประมาณ 50 - 60 ชนิด  โดยจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะการวางไข่ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                     1 กลุ่มแรก เป็นปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่  เป็นปลากัดที่ผู้เพาะเลี้ยงปลากัดส่วนใหญ่ดำเนินการกันมานานแล้ว  ปลาเพศผู้จะสร้างรัง เรียกว่าหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง  เพื่อใช้ในการฟักไข่ ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta coccina   B. brownorum   B. burdigala   B. livida   B. rutilans   B. tussyae 
                     2 กลุ่มที่สอง เป็นปลากัดอมไข่  เป็นปลากัดที่ถูกนำมาเลี้ยงยังไม่นานนัก  เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่คล้ายกับปลาหมอสีกลุ่มที่อมไข่  เพื่อให้ไข่ฟักตัวภายในปาก  ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta akarensis    B. patoti    B. anabatoides    B. macrostoma    B. albimarginata   B. channoides 
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 2  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด Betta splendens
.
    http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 3  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่ชนิดอื่น ๆ
                                       
.http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
      
ภาพที่ 4  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดอมไข่บางชนิด
                                            
.
3 ลักษณะรูปร่างของปลากัด           
                 ปลากัดจัดเป็นปลาขนาดเล็ก     ลำตัวมีความยาวประมาณ  5 - 7  เซนติเมตร   ลักษณะลำตัวเรียวยาว  แบนข้าง   ปากมีขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย   ส่วนหัวมีเกล็ดปกคลุม   ครีบก้นมีฐานครีบค่อนข้างยาว   มีจำนวนก้านครีบ  23 - 26 อัน   ครีบท้องเล็กยาว   สีของลำตัวเป็นสีเทาแกมดำ   สีของครีบและเกล็ดบริเวณใกล้ครีบจะเป็นสีสดเข้มสีใดสีหนึ่งทั้งตัว   เช่น  ปลากัดสีแดง   จะมีครีบทุกครีบและเกล็ดที่อยู่ใกล้ครีบเป็นสีแดงทั้งหมด
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 5  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัด
.
4 ลักษณะพันธุ์ของปลากัด        
                ปลากัดที่มีเพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน   มีหลายสายพันธุ์ดังนี้
                4.1 ปลากัดลูกหม้อ   มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น   ส่วนหัวค่อนข้างโต   ปากใหญ่   ครีบสั้นสีเข้ม   เดิมมักจะเป็นสีเขียว   หรือสีน้ำเงินแกมแดง   แต่ปัจจุบันมีหลายสี   เช่นสีแดง   สีน้ำเงิน   สีม่วง  สีเขียว   และสีนาก   เป็นชนิดที่มีความอดทน   กัดเก่ง   ได้รับความนิยมสำหรับการกัดพนัน ปัจจุบันนิยมเรียกเป็นกลุ่มของ ปลากัดครีบสั้น
.
   http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
                           ภาพที่ 6  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกหม้อ
.
                  4.2 ปลากัดลูกทุ่ง   มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าพันธุ์ลูกหม้อ   ลำตัวค่อนข้างยาว   ครีบยาวปานกลางหรือยาวกว่าพันธุ์ลูกหม้อเล็กน้อย   สีไม่เข้มมากนัก   ส่วนมากมักจะเป็นสีแดงแกมเขียว   เป็นพันธุ์ที่มีความตื่นตกใจได้ง่ายที่สุด  การกัดจะมีความว่องไวมากกว่าพันธุ์ลูกหม้อ   ปากคม   แต่ไม่ค่อยมีความอดทน   ใช้เวลาประมาณ  30  นาทีจะรู้ผลแพ้ชนะ   นิยมใช้ในวงการกัดพนันเช่นกัน
.
       http://home.kku.ac.th/pracha/  http://home.kku.ac.th/pracha/
           ภาพที่ 7  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกทุ่ง 
.
                  4.3 ปลากัดลูกผสม   หรือพันธุ์สังกะสี   หรือพันธุ์ลูกตะกั่ว   เป็นลูกปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง   โดยอาจผสมระหว่างพ่อเป็นปลาลูกหม้อกับแม่เป็นปลาลูกทุ่ง   หรือพ่อเป็นปลาลูกทุ่งกับแม่เป็นปลาลูกหม้อ   ได้ทั้งสองแบบ   ผู้เพาะต้องการให้ปลาลูกผสมที่ได้มีลักษณะปากคม   กัดคล่องแคล่วว่องไวแบบปลาลูกทุ่ง   และมีความอดทนแบบปลาลูกหม้อ โดยพยายามคัดปลาที่มีลักษณะลำตัวเป็นปลาลูกทุ่ง เพราะเมื่อนำไปกัดกับปลาลูกทุ่งแท้ ๆ ปลาลูกผสมนี้จะกัดทนกว่าปลาลูกทุ่ง  
                 4.4 ปลากัดจีน   เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นเพื่อความสวยงาม   พยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม   จนในปัจจุบันสามารถผลิตปลากัดจีนที่มีความสวยงามอย่างมาก   มีครีบต่างๆค่อนข้างยาว   โดยเฉพาะครีบหางจะยาวมากเป็นพิเศษและมีรูปทรงหลายแบบ   มีสีสันสดสวยมากมายหลายสี   เป็นปลาที่ไม่ค่อยตื่นตกใจเช่นเดียวกับปลาหม้อ   แต่ไม่มีความอดทน   เมื่อปล่อยกัดกันมักรู้ผลแพ้ชนะภายใน  10  นาที   ไม่นิยมใช้ในการกัดพนัน ปัจจุบันนิยมเรียกเป็นกลุ่มของ ปลากัดครีบยาว
.http://home.kku.ac.th/pracha/  http://home.kku.ac.th/pracha/
 
ภาพที่ 8  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดจีน  
.
               ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถเพาะพันธุ์ปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆออกมาอีกหลายสายพันธุ์  และมีความหลากหลายทางด้านสีสันอีกด้วย  ทำให้มีการเรียกชื่อสายพันธุ์ปลากัดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย  ได้แก่  ปลากัดครีบสั้น(ปลากัดหม้อ)สีเดียว  ปลากัดครีบยาว(ปลากัดจีน)สีแฟนซี  ปลากัดสองหาง (Double Tail)   ปลากัดหางหนามมงกุฎ (Crown Tail) ปลากัดหางพระจันทร์ (Halfmoon) เป็นต้น
    http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 9  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีเดียว
.http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
    
ภาพที่ 10  แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีแฟนซี
                                              ที่มา : สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 2544  
.http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/ http://home.kku.ac.th/pracha/
  

5 การจำแนกเพศปลากัด        
                ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกที่แสดงความแตกต่างกัน   ซึ่งพอจะสังเกต
ได้หลายประการ  คือ
                5.1 สีของลำตัว   ปลาเพศผู้จะมีสีของลำตัวและครีบ   เข้มและสดกว่าปลาเพศเมียอย่างชัดเจน   เมื่อปลามีอายุตั้งแต่  2  เดือน  หรือมีขนาดตั้งแต่  3  เซนติเมตรขึ้นไป
                5.2 ขนาดของตัว   ปลาที่เลี้ยงในครอกเดียวกันปลาเพศผู้จะเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเพศเมีย
                5.3 ความยาวครีบ   ปลาเพศผู้จะมีครีบหลัง   ครีบหาง   และครีบก้นยาวกว่าของปลาเพศเมียมาก   ยกเว้นปลากัดหม้อจะยาวต่างกันไม่มากนัก
                5.4 เม็ดไข่นำ  ปลาเพศเมียจะมีเม็ดหรือจุดขาวๆอยู่  1  จุด   ใกล้ๆกับช่องเปิดของช่องเพศ   ลักษณะคล้ายกับไข่ของปลากัดเอง   เรียกจุดนี้ว่าไข่นำ   ส่วนปลาเพศผู้ไม่มี   

6 การแพร่พันธุ์ของปลากัด      
                ในธรรมชาติปลากัดเป็นปลาที่วางไข่ได้เกือบตลอดปี   โดยปลาจะจับคู่วางไข่ตามน้ำนิ่ง   ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่สร้างรัง   ด้วยการก่อหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง   หวอดนี้ทำจากลมและน้ำลายจากตัวปลา   โดยการที่ปลาเพศผู้จะโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำ   แล้วใช้ปากฮุบเอาอากาศที่ผิวน้ำเข้าปาก   ผสมกับน้ำลายแล้วพ่นออกมาเป็นฟองอากาศเล็กๆลอยติดกันเป็นกลุ่มทรงกลม   เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5  เซนติเมตร   จากนั้นจะกางครีบว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ๆหวอด   เป็นเชิงชวนให้ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เข้ามาที่หวอด   การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้า   เวลาประมาณ  7.00 - 8.00  น.   โดยทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะเข้าไปอยู่ใต้รัง  จากนั้นปลาเพศผู้จะงอตัวรัดบริเวณท้องของปลาเพศเมีย   ลักษณะนี้เรียกว่า “การรัด”   ปลาเพศเมียจะปล่อยไข่ออกมาครั้งละ  7 - 20 ฟองในขณะเดียวกันปลาเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่   ในช่วงนี้ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะค่อยๆจมลงสู่ก้นบ่อ   จากนั้นปลาเพศผู้จะค่อยๆคลายการรัดตัว   แล้วรีบว่ายน้ำไปหาไข่ที่กำลังจมลงสู่พื้น   ใช้ปากอมไข่นำไปพ่นติดไว้ที่หวอด   ปลาเพศเมียก็จะช่วยเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดด้วย   เมื่อตรวจดูว่าเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดหมดแล้ว  จากนั้นปลาก็จะทำการรัดตัวกันใหม่   ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนแม่ปลาไข่หมดท้อง   ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ  2  ชั่วโมง   เมื่อวางไข่หมดแล้วปลาเพศผู้จะไล่กัดขับไล่ปลาเพศเมียไม่ให้มาใกล้รังอีกเลย   เพราะเมื่อปลาเพศเมียวางไข่หมดแล้วมักจะกินไข่ของตัวเอง   จะมีเฉพาะปลาเพศผู้เท่านั้นที่คอยดูแลรักษาไข่   คอยไล่ไม่ให้ปลาตัวอื่นเข้าใกล้รัง   และจะคอยเปลี่ยนลมในหวอดอยู่เสมอ   ไข่ของปลากัดจัดว่าเป็นไข่ประเภทไข่ลอย   ถึงแม้ตอนปล่อยจากแม่ปลาใหม่ๆไข่จะจมน้ำ   แต่เมื่อถูกนำไปไว้ในหวอดจะพัฒนาเกิดหยดน้ำมันและลอยน้ำได้ดี   ลักษณะไข่เป็นเม็ดกลมสีขาว   ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ  30 - 40  ชั่วโมง   ปลาเพศเมียที่มีขนาดความยาวประมาณ  4 - 6  ซม.  จะมีไข่ประมาณ  300 - 700 ฟอง   เมื่อวางไข่ไปแล้วจะสามารถวางไข่ครั้งต่อไปภายในเวลาประมาณ  20 - 30  วัน
7 การเพาะพันธุ์ปลากัด      
                การเพาะพันธุ์ปลากัดดำเนินได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
                7.1 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์   ปลากัดจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ  4 - 6  เดือน   สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้   การเลือกปลาเพศผู้ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง  คือ  เมื่อนำปลาดังกล่าวไปใกล้กับปลาเพศผู้ตัวอื่น   ก็จะแสดงอาการก้าวร้าวทันที   โดยจะกางกระพุ้งแก้มและกางครีบ  รี่เข้าหาปลาตัวอื่นทันทีพร้อมที่จะกัด   หรืออาจสังเกตจากการสร้างหวอดก็ได้   เพราะปลาเพศผู้ที่สมบูรณ์เพศและพร้อมจะผสมพันธุ์   มักจะสร้างหวอดในภาชนะที่เลี้ยงเสมอ   สำหรับปลาเพศเมียควรเลือกปลาที่มีท้องแก่  คือมีไข่แก่เต็มที่   โดยสังเกตได้จากส่วนท้องของปลา   ซึ่งจะขยายตัวพองออกอย่างชัดเจน   และเมื่อลองให้อดอาหารเป็นเวลา  1  วัน   ส่วนท้องก็ยังคงขยายอยู่เช่นเดิม   นำแม่ปลาที่เลือกได้ไปใส่ขวดแล้วนำไปวางเทียบกับปลาเพศผู้   เมื่อปลาเพศผู้แสดงอาการเกี้ยวพาราสี   ปลาเพศเมียที่ท้องแก่จะเกิดลายสีขาวแกมเหลืองพาดจากส่วนหลังลงไปทางส่วนท้อง  จำนวน 4 - 6 แถบ ในเรื่องสีสันของปลานั้นสามารถเลือกได้ตามความชอบของผู้ดำเนินการ  เพราะปลาสีต่างกันสามารถผสมกันได้             

               7.2 การเทียบพ่อแม่พันธุ์   เมื่อเลือกได้ปลาเพศผู้และเพศเมีย   ที่สมบูรณ์มีลักษณะและสีสันตามต้องการแล้ว   นำปลาใส่ขวดแก้วใสขวดละตัวแยกเพศกันไว้ก่อน   แล้วนำมาตั้งเทียบกันไว้   โดยการวางขวดใส่ปลาให้ชิดกันและไม่ต้อมีกระดาษปิดคั่น   ต้องการปล่อยให้ปลามองเห็นกัน   ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “การเทียบ”   ควรเทียบไว้นานประมาณ  4 - 7  วัน   เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชินซึ่งกันและกัน   เมื่อปล่อยลงบ่อเพาะแม่ปลาจะไม่ถูกพ่อปลาทำร้ายมากนัก   ในขณะเดียวกันแม่ปลาก็จะมีไข่แก่เต็มที
              7.3 การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์   บ่อหรือภาชนะที่จะใช้เป็นบ่อเพาะปลากัดควรมีขนาดเล็ก   ส่วนมากนิยมใช้ภาชนะต่างๆไม่มีบ่อถาวร  เช่น  อ่างดินเผา   กะละมัง   ถัง   หรือตุ่มน้ำขนาดเล็ก   เพราะสะดวกกว่าการเพาะในบ่อ  ภาชนะดังกล่าวมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  30 - 40  เซนติเมตร  ใส่น้ำสะอาดลงในภาชนะที่เตรียมไว้ให้มีระดับสูงประมาณ 10 - 15  เซนติเมตร  จากนั้นใส่พันธุ์ไม้น้ำที่มีใบหรือลำต้นอยู่ผิวน้ำ   เช่น  จอก   ผักตบชวา   ผักบุ้ง   หรือผักกระเฉด  ลงไปบ้างเล็กน้อยเพื่อให้ปลาสร้างหวอดได้ง่าย
 
                7.4 การปล่อยปลาลงบ่อเพาะ   เมื่อเทียบปลาไว้เรียบร้อยแล้วจึงปล่อยปลาทั้งคู่ลงบ่อเพาะที่เตรียมไว้  ต้องพยายามอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก   จากนั้นหาแผ่นวัสดุ  เช่น  กระดาษแข็ง   หรือแผ่นกระเบื้อง   ปิดบนภาชนะที่ใช้เพาะ   โดยปิดไว้ประมาณ  2  ใน  3  ของพื้นที่ปากภาชนะ   เพราะปลากัดมักชอบวางไข่ในบริเวณที่มืด   เนื่องจากต้องการความเงียบสงบ   วัสดุที่นำมาปิดจะสามารถช่วยบังแสงและกันลมไม่ให้หวอดของปลาแตก   เทคนิคที่สำคัญคือ  การปล่อยพ่อแม่ปลาควรปล่อยในตอนเย็น   เวลาประมาณ  17.00 - 18.00  น.   เพราะโดยปกติแล้วเมื่อปล่อยพ่อแม่ปลารวมกัน   ปลาเพศผู้จะเกี้ยวพาราสีปลาเพศเมีย   โดยว่ายน้ำต้อนหน้าต้อนหลังอยู่ประมาณ  15  นาที   จากนั้นจะไล่กัดปลาเพศเมียจนปลาเพศเมียจะต้องหนีไปแอบซุกอยู่ตามพันธุ์ไม้น้ำ    แล้วปลาเพศผู้จะเริ่มหาที่ก่อหวอด   เมื่อก่อหวอดไปพักหนึ่งก็จะไปไล่กัดปลาเพศเมียอีก   ดังนั้นหากปล่อยปลาทั้งคู่ตั้งแต่เช้าปลาเพศเมียก็จะถูกกัดค่อนข้างบอบช้ำ   แต่ถ้าปล่อยใกล้ค่ำเมื่อปลาเพศผู้หาจุดสร้างรังได้ก็จะค่ำพอดี   ปลาเพศผู้จะไม่ไปรบกวนปลาเพศเมียอีก   แต่จะสร้างรังไปจนเรียบร้อย   รุ่งเช้าก็พร้อมจะผสมพันธ์ได้
             7.5 การตรวจสอบการวางไข่ของปลา   ตามปกติแล้วถ้าปลามีการวางไข่   ก็มักจะวางไข่เสร็จก่อนเวลาประมาณ  10.00  น.   ดังนั้นเมื่อปล่อยปลาลงบ่อเพาะแล้ว   เช้าวันต่อมาเวลาประมาณ  10.00  น. จึงค่อยๆลองแง้มฝาปิดดู   ถ้าพบว่ามีไข่เม็ดเล็กๆสีขาวอยู่ที่หวอด   และมีพ่อปลาคอยเฝ้าอยู่   ส่วนแม่ปลาหนีไปซุกอยู่ด้านตรงข้ามกับหวอด  แสดงว่าปลาวางไข่เรียบร้อยแล้ว   ค่อยๆช้อนแม่ปลาออกไปเลี้ยงต่อไป   ปลาเพศผู้จะคอยดูแลรักษาไข่   โดยหมั่นเปลี่ยนฟองอากาศในหวอดและตกแต่งหวอดให้คงรูปอยู่เสมอ   นอกจากนั้นยังคอยเก็บกินไข่เสียด้วย
8 การอนุบาลลูกปลากัด      
                ลูกปลาจะฟักออกจากไข่หมดทุกฟองในวันที่สองหลังจากวางไข่   พ่อปลาจะคอยดูแลลูกที่ว่ายน้ำแล้วจมไปก้นบ่อ   โดยจะไปอมลูกกลับมาไว้ที่หวอดเช่นเดิม   รอจนตอนเย็นของวันถัดไปจึงช้อนเอาพ่อปลาออก   ลูกปลาจะตกใจกระจายตัวออกจากหวอด   ส่วนใหญ่ลงไปก้นบ่อแต่เมื่อรอสักครู่ก็จะพุ่งตัวขึ้นมาเกาะอยู่ตามพันธุ์ไม้น้ำหรือผนังบ่อใกล้ผิวน้ำ   ในวันต่อมาถุงอาหารของลูกปลาจะหมดไป   ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำเพื่อหากินอาหาร
                การอนุบาลลูกปลากัดจะเริ่มจากที่ลูกปลาเริ่มหากินอาหาร   ซึ่งการอนุบาลลูกปลากัดนี้จัดว่าเป็นงานที่ค่อนข้างยาก   เนื่องจากปลากัดเป็นปลากินเนื้อตามที่กล่าวมาแล้ว   ลูกปลาจึงต้องการอาหารที่มีชีวิต   แต่ปัญหาจะอยู่ที่ว่าลูกปลากัดเป็นลูกปลาที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก   ปากจะไม่ใหญ่พอที่จะจับกินอาร์ทีเมียหรือไรแดงได้   อาหารที่เหมาะสมจะใช้ให้ลูกปลากินในช่วงนี้คือไข่แดง   โดยใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ดมาต้มให้สุกแล้วแกะเอาเฉพาะไข่แดงไปเลี้ยงปลา   เนื่องจากลูกปลากัดจะต้องการจับกินอาหารมีชีวิตยังไม่สามารถกัดแทะอาหารได้   ดังนั้นต้องนำเอาไข่แดงที่จะใช้   เช่น  ลูกปลากัด  1  ครอกจะใช้ไข่แดงขนาดเท่าเม็ดถั่วดำต่อการให้  1  ครั้ง   ใส่ไข่แดงลงในกระชอนผ้า   แล้ววางกระชอนลงบนขันหรือแก้วที่ใส่น้ำไว้พอประมาณ   แล้วใช้นิ้วขยี้ไข่ในกระชอน   ไข่แดงก็จะละลายหรือกระจายตัวเป็นเม็ดเล็กๆผ่านผ้าออกไปในน้ำ   จากนั้นจึงใช้ช้อนตักแล้วค่อยๆรินลงบ่อปลาเพื่อให้อาหารมีการกระจายตัวทั่วบ่อ   ซึ่งจากการที่ได้ขยี้ไข่แดงผ่านผ้าจะทำให้ไข่แดงแตกตัวออกเป็นเม็ดขนาดเล็กมากและมีน้ำหนักค่อนข้างเบา   ดังนั้นจะมีการกระจายตัวได้ดีและจะค่อยๆจมตัวลง   ทำให้ลูกปลานึกว่าเป็นไรน้ำก็จะฮุบกินไข่แดงได้  
                สำหรับภาชนะที่ใช้ในการอนุบาล   ในช่วงแรกก็ควรยังเป็นภาชนะที่ใช้เพาะปลา  เพราะยังต้องการภาชนะขนาดเล็กอยู่   เนื่องจากการใช้ไข่แดงเป็นอาหารนั้น   ลูกปลาจะกินไข่แดงไม่หมด   เพราะไข่แดงส่วนใหญ่จะค่อยๆจมตัวตกตะกอนที่ก้นภาชนะ   และลูกปลาจะไม่ลงไปเก็บกินอีกเลย   ไข่แดงที่ตกตะกอนนี้ในวันต่อไปจะบูดเน่าเป็นเมือกอยู่รอบก้นภาชนะ   จึงจำเป็นต้องล้างบ่ออนุบาลหรือภาชนะที่ใช้อนุบาลทุกเช้า   ซึ่งกระทำได้ไม่ยาก  คือ   ใช้กระชอนวางลงในบ่ออนุบาลแล้วใช้ขันค่อยๆวิดน้ำออกจากในกระชอน   จะสามารถลดน้ำลงได้โดยลูกปลาไม่ติดออกมา   และเศษไข่ก็จะไม่ฟุ้งกระจายเพราะเป็นเมือกเกาะติดกับภาชนะ   ลดน้ำลงประมาณครึ่งภาชนะ   แล้วจึงยกภาชนะค่อยๆรินทั้งน้ำและลูกปลาลงภาชนะใหม่แล้วเติมน้ำ   จะเท่ากับเป็นการล้างบ่ออนุบาลและเติมน้ำใหม่ให้ลูกปลา   ทำเช่นนี้ประมาณ  3 - 5 วัน   ลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้น   จะเปลี่ยนบ่ออนุบาลให้มีขนาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น   อาจใช้กะละมังพลาสติกขนาดใหญ่หรืออ่างซีเมนต์   และควรอนุบาลต่อโดยใช้อาร์ทีเมียหรือไรแดงซึ่งลูกปลาจะจับกินได้แล้ว   เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียหรือไรแดงประมาณ  15 - 20  วันพร้อมทั้งถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ   ลูกปลาจะโตได้ขนาดประมาณ  1.0 - 1.5  เซนติเมตร   ก็จะเปลี่ยนลงบ่อบ่ออนุบาลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นให้มีความจุมากกว่า  100  ลิตร   แล้วเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารสมทบ   โดยจะใช้ไข่ตุ๋น  คือนำไข่เป็ดหรือไข่ไก่มาตีให้ไข่ขาวและไข่แดงเข้ากันดี    ใส่เกลือและใส่น้ำพอประมาณเพื่อให้ไข่นุ่ม   จากนั้นนำไปนึ่งพอสุก   ไม่ควรนึ่งนานนักเพราะต้องการให้ไข่มีความนุ่ม   นำไปใส่ให้ปลากินโดยใช้นิ้วขยี้ไข่ให้แตกกระจายออกพอควร   และเริ่มให้มื้อเช้าแทนการให้ไร   ปลาจะเริ่มตอดกินได้เอง   เลี้ยงด้วยไข่ตุ๋นประมาณ  10  วันก็เปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ด   โดยช่วงแรกควรใช้อาหารปลาสวยงามชนิดเม็ดเล็กพิเศษ   ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพงแต่ปลาจะกินได้ดี   จะใช้เพียง  3 - 5  วัน แล้วเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดเลี้ยงปลาดุกเล็ก   ลูกปลาก็จะสามารถตอดกินและเจริญเติบโตดี  ใช้เวลาอนุบาลลูกปลาประมาณ  50  วัน   ลูกปลาจะมีขนาดประมาณ  3  เซนติเมตร   ซึ่งพอจะ สามารถแยกเพศได้  

9 การเลี้ยงปลากัด       
                บ่อเลี้ยงปลากัดถ้าเป็นบ่อดินควรมีขนาด  10 - 30  ตารางเมตร   ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด  2 - 6  ตารางเมตร   มีความลึกประมาณ  50 - 60  เซนติเมตร   คัดแยกลูกปลาจากบ่ออนุบาลโดยคัดเอาเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง  เนื่องจากปลาเพศผู้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าและราคาสูงกว่าปลาเพศเมียมาก   ปล่อยเลี้ยงในอัตรา  150 - 200 ตัว ต่อเนื้อที่  1  ตารางเมตรสำหรับบ่อดิน   และอัตรา  100 - 150 ตัว ต่อเนื้อที่  1  ตารางเมตรสำหรับบ่อซีเมนต์   แล้วเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดลอยน้ำ   นอกจากนั้นควรใส่พรรณไม้น้ำพวกสาหร่าย   และสันตะวา   เพื่อป้องกันการทำอันตรายจากปลาด้วยกันเอง   ใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ  50 - 60  วัน   ปลาจะมีขนาดประมาณ  5  เซนติเมตร   สามารถคัดแยกใส่ขวดเพื่อรอจำหน่ายต่อไป

10 การลำเลียงปลากัด     
                เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth  Fish จึงค่อนข้างมีความอดทน  ทำให้สามารถลำเลียงในภาชนะขนาดเล็กๆไปเป็นระยะทางไกลๆเป็นเวลานานได้โดยไม่ต้องมีการอัดออกซิเจน  วิธีการที่นิยมมากที่สุด คือการลำเลียงโดยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดเล็กๆโดยไม่ต้องอัดออกซิเจน  และใช้กระดาษห่อด้านนอกเพื่อให้ปลาสงบนิ่งทำให้ใช้พลังงานน้อยลง  หรือการใช้ภาชนะขนาดเล็กๆพอดีกับตัวปลา  ใส่น้ำพอท่วมตัวปลาโดยไม่ต้องปิดฝา  แล้ววางเรียงซ้อนกันในกล่องโฟมอีกทีหนึ่ง  ก็จะสามารถลำเลียงปลากัดได้คราวละจำนวนมากและเป็นระยะทางไกล  หรือลำเลียงแบบรวมในถุงพลาสติคขนาดใหญ่โดยใส่ปลาจำนวนมากในแต่ละถุง
                                                                         

การเลี้ยงปลาทอง

                          
  การเพาะเลี้ยงปลาทอง          
http://home.kku.ac.th/pracha/
                  ปลาทองหรือปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญว่า Goldfish   เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงมานานแล้ว จัดเป็นปลาที่ติดตลาด คือเป็นปลาที่มีจำหน่ายในร้านขายปลาสวยงามทุกร้านและสามารถขายได้ราคาดีตลอดปี โดยทั่วไปจัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติว่า Chi Yu และเรียกปลาทองที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านว่า Chin Chi Yu ในประเทศญี่ปุ่น ปลาทองได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก และมีการพัฒนาวิธีการเพาะพันธุ์มีการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นต่างๆมาผสมพันธุ์กัน ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะสวยงามขึ้นมาหลายชนิด และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
1 ประวัติของปลาทอง         

                ชาวจีนเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงปลาทอง โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมไม่มีความสวยงามมากนัก   มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาไน เพียงแต่ว่ามีสีสันสวยงามและสดกว่าปลาไน   
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 1  แสดงลักษณะปลาทองพันธุ์ดั้งเดิม (Wild Type)
                                                ที่มา : Coffey (1977)
               การเลี้ยงปลาทองได้รับความนิยมมากในระหว่างปี พ.ศ. 1243 - 1343   โดยชาวจีนในสมัยนั้นนิยมเลี้ยงปลาทองไว้ในสระน้ำในบริเวณรั้วบ้าน  ต่อมาในปี พ.ศ. 1716 - 1780  มีการนำปลาทองมาเลี้ยงในกรุงปักกิ่ง โดยนิยมเลี้ยงในอ่างกระเบื้องเคลือบ การเลี้ยงปลาทองเพื่อการจำหน่ายจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการเพาะพันธุ์ปลาทองและได้พันธุ์ปลาแปลกๆมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2043 จึงมีการนำปลาทองเข้าไปเลี้ยงในเมืองซาไกประเทศญี่ปุ่น แต่ได้รับความสนใจมากในปี พ.ศ. 2230 สำหรับประเทศอื่นๆที่มีรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทองได้แก่
                ปี พ.ศ.  2234   ที่ประเทศอังกฤษ
                ปี พ.ศ.  2323   ที่ประเทศฝรั่งเศส
                ปี พ.ศ.  2419   ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
                สำหรับในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าราวปี พ.ศ.  1911 - 2031
.
      http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 2  ลักษณะปลาทองที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ในระยะแรกๆ(Common Goldfish)
                              ที่มา : Bailey and Sandford (2000)    
  2 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน  

                Frank (1969)  ได้จัดลำดับชั้นของปลาทองไว้ดังนี้
                Class                       :   Osteichthyes
                  Subclass               :   Teleostei
                    Order                  :   Cypriniformes
                      Suborder           :   Cyprinoidei (Carps)
                        Family             :   Cyprinidae
                          Genus           :   Carassius
                            Species       :   auratus                            
                                                                                                                                  .              
3 ลักษณะรูปร่างของปลาทอง      
                 ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในธรรมชาตินั้น มีรูปร่างคล้ายปลาไนแต่มีขนาดเล็กกว่าปลาไนมาก คือ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม ส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว หรือสีขาว 
                 เนื่องจากมีการนำปลาทองไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ประกอบกับเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาในกลุ่มเดียวกันชนิดอื่นๆได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆออกมาหลายชนิด มีลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ 
ครีบหาง เปลี่ยนแปลงจากหางแฉก หรือหางเดี่ยว เป็น หางพวง หรือหางคู่
ครีบก้น  เปลี่ยนแปลงจากครีบเดี่ยว เป็น ครีบคู่
ครีบหลัง บางชนิดจะไม่มีครีบหลัง
ส่วนหัว บางชนิดจะมีลักษณะที่พองออกเป็นวุ้น
ตา  บางชนิดมีกระบอกตาที่โป่งพองออก
 .
http://home.kku.ac.th/pracha/
   ภาพที่ 3  แสดงส่วนต่างๆและรูปร่างของปลาทอง
.
  http://home.kku.ac.th/pracha/ 
ภาพที่ 4  แสดงลักษณะปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่         
                                       ที่มา : Free-pet-wallpapers.com (2012) (ซ้าย)   .    
                                                         
  4 ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง            

              จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์   มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ  แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ   ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน   และมีการตั้งชื่อพันธุ์ต่างๆไว้ดังนี้
                4.1 ปลาทองที่มีหางเดี่ยว   อาจเรียกหางปลาทู  หรือหางแฉก (Fork  Tail)   ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง   เว้าตรงกลางหรือเป็น  2  แฉก   มีสายพันธุ์ที่นิยม  2  สายพันธุ์   คือ
4.1.1 พันธุ์โคเมท (Comet)   เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม   หรือต้นตระกูลของปลาทอง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน   ลำตัวมักมีสีแดง   สีแดงสลับขาว   หรือสีทอง   ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม
.
    http://home.kku.ac.th/pracha/
                              ภาพที่ 5  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์โคเมท
                                            ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)  
.
  4.1.2 พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin)    ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท   แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี   เช่น  สีแดง สีขาว  สีม่วง  สีส้ม  และสีดำ   เกล็ดจะค่อนข้างใส   จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง   เนื่องจากมีสีเด่นหลายสี   สดใส   ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ  เช่น   Speckled Goldfish ,  Harlequin  Goldfish ,  Vermilion  Goldfish  หรือ  Coronation  fish 
.http://home.kku.ac.th/pracha/
      
                               ภาพที่ 6  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิง
                                             ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)  
.
                 4.2 ปลาทองที่มีหางคู่   คือมีส่วนหางแยกออกเป็น  3 - 4  แฉก   มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ   หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง   มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์  ดังนี้
4.2.1 พันธุ์ออแรนดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดา   หรือฮอลันดาหัวแดง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว   มีครีบครบทุกครีบ   หางยาว   และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์   แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์   สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม   เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่   และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง   สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน    ชาวญี่ปุ่นเรียก   Oranda Shishigashira
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 7  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ออแรนดา
                                                    ที่มา : Free-pet-wallpapers.com (2012) (บน)   
.    
4.2.2 พันธุ์ริวกิ้น (Ryukin  or Veiltail ) ลักษณะเด่น คือ  เป็นพันธุ์ที่มีหางค่อนข้างยาวเป็นพวงสวยงามเป็นพิเศษ  คล้ายริบบิ้นหรือผ้าแพร ทำให้มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ คือ  Fringetail ,  Ribbontail ,  Lacetail ,   Muslintail  และ  Japanese  Fantail   ในขณะที่ว่ายน้ำครีบหางจะบานเป็นสง่า ลำตัวค่อนข้างกลมสั้น และมักมีสีแดงสลับขาว บางชนิดอาจมี 5 สี  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก     
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 8  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ริวกิ้น  
                                                      ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) (ล่าง)
.
4.2.3 พันธุ์ตาโปน (Telescope-eyed  Goldfish) อาจเรียก  Pop-eye  Goldfish ชาวจีนนิยมเรียก  Dragon  Eyes  ชาวญี่ปุ่นเรียก  Aka Demekin ซึ่งแปลว่าตาโปนเช่นกัน ลักษณะเด่นของพันธุ์ คือ ลูกตาจะยื่นโปนออกมามากเหมือนท่อกล้องส่องทางไกล พันธุ์ตาโปนที่นิยมเลี้ยงมี  5 ชนิด คือ
             พันธุ์ตาโปนสีแดง (Red  Telescope-eyed  Goldfish) มีสีแดงตลอดตัว   ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น
.
 http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 9  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสีแดงขาว
                                                ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) (ซ้าย)
                                                         Pet Goldfish (2010) (ขวา)
               พันธุ์มัว (Moor)   หรือเล่ห์ (Black  Moor  or  Black  Telescope-eye  Goldfish)   เป็นพันธุ์ที่รู้จักดีในประเทศไทยในชื่อ เล่ห์ หรือ ลักเล่ห์  ลักษณะเด่น  คือ  ลำตัวมีสีดำสนิทตลอด  ตาจะไม่โปนมากนัก  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Kuro Demekin
.http://home.kku.ac.th/pracha/
          
ภาพที่ 10  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เล่ห์
.
                 พันธุ์ตาโปนสามสี (Calico  Telescope-eye Goldfish)   รู้จักกันดีในประเทศไทยว่าลักเล่ห์ห้าสี เป็นพันธุ์ที่มีเกล็ดค่อนข้างบาง ลำตัวมีสีสันหลายสีสดเข้มและมักมีเพียง  3 สี แต่สีที่พบในพันธุ์นี้จะมี  5 สี คือ สีแดง สีขาว สีดำ สีน้ำตาลออกเหลือง และสีแดงออกม่วง  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า Sanshoku Demekin
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 11  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสามสี
                                                   ที่มา : Pet Goldfish (2010)       
                   พันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble Eye Goldfish) ลักษณะเด่น คือ มีเบ้าตาพองออกคล้ายลูกโป่งทั้งสองข้าง เวลาว่ายน้ำมักจะแกว่งไปมา ลำตัวมักมีสีขาวหรือเหลืองแกมส้ม มีทั้งที่มีครีบหลังและไม่มีครีบหลัง  
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 12  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง
                                                      ที่มา : นายเก๋า (2547)        
                    พันธุ์ตากลับ (Celestial Goldfish)  ลักษณะเด่น คือ ตาที่โปนออกมาจะหงายกลับขึ้นข้างบน ชาวจีนเรียกว่า Shotengan แปลว่าตามุ่งสวรรค์ หรือตาดูฟ้า ต่อมาชาวญี่ปุ่นนำไปเลี้ยงและพัฒนาได้หางสั้นกว่าเดิม เรียก Demeranchu  
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 13  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตากลับ
                                                       ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)       
.
4.2.4 พันธุ์เกล็ดแก้ว (Pearl  Scale  Goldfish) ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายลูกปิงปอง ส่วนหัวเล็กมาก หางยาว ลักษณะเด่น คือ มีเกล็ดนูนขึ้นมาต่างกับเกล็ดธรรมดาทั่วไปอย่างชัดเจน สีของลำตัวมักมีสีขาว สีส้ม และสีทอง     
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 14  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว
                                                     ที่มา : Pirun.ku.ac.th  
.
4.2.5 พันธุ์หัวสิงห์ (Lionhead  Goldfish  or Ranchu) ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ไม่มีครีบหลัง   หางสั้นและเป็นครีบคู่  ที่สำคัญคือ ส่วนหัวจะมีก้อนวุ้นปกคลุมอยู่ ทำให้มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น  Hooded Goldfish ,  Buffalo-head  Goldfish ส่วนในญี่ปุ่นเรียก Ranchu  ในประเทศไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่า “หัวสิงห์”  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และนิยมจัดประกวดกันเป็นประจำ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่อของปลาทอง(King  of  The  Goldfish) มีอยู่หลายชนิดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่
                  สิงห์ญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวค่อนข้างสั้นและส่วนหลังโค้งมนสวยงาม สีของลำตัวเป็นสีส้มเข้มเหลือบทองต้องตา วุ้นที่ส่วนหัวมีลักษณะเล็กละเอียดขนาดไล่เลี่ยกันและค่อนข้างหนา ครีบหางสั้นและจะยกสูงขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว ครีบก้นเป็นครีบคู่มีขนาดเท่ากัน  
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 15  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ญี่ปุ่น
.
                  สิงห์จีน เป็นพันธุ์ต้นตระกูลของหัวสิงห์ กำเนิดในจีน ลำตัวค่อนข้างยาว ส่วนหลังไม่โค้งมากนักหางค่อนข้างยาวอ่อนลู่ หัวค่อนข้างใหญ่และมีวุ้นดกหนากว่าสายพันธุ์อื่น และทางด้านท้ายของวุ้นไม่ขรุขระ   ทำให้มองเหมือนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว สีของลำตัวเป็นสีส้มแกมทองแต่ไม่สดมากนัก  
.http://home.kku.ac.th/pracha/
   
ภาพที่ 16  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์จีน
                                                       ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) 
.
                   สิงห์หัวแดง สิงห์ตันโจ  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีแดง
 .http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 17  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์หัวแดง
.
                   สิงห์ตามิด  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีดำสนิทตลอดลำตัว แม้กระทั่งวุ้นก็เป็นสีดำ วุ้นค่อนข้างดกหนาจนปิดลูกตาแทบมองไม่เห็น 

            http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 18  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิด
                                                                       ที่มา : Fish949 (2011)      
                  สิงห์ห้าสี ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์จีน แต่มีสีบนลำตัว 5 สี คือ สีดำ สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน และสีเหลือง เกล็ดค่อนข้างบางโปร่งใส
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 19  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ห้าสี
                                                      ที่มา : Jesada (2004)
                   สิงห์เงิน  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์หัวแดง มีสีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน แต่ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีเงินด้วย
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 20  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์เงิน
.
                 สายพันธุ์อื่นๆ  ยังมีปลาทองอีกหลายสายพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเน้นผลิตปลาทองเพื่อการส่งออก และค่อนข้างได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ 
5 การจำแนกเพศปลาทอง             
                การศึกษาความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองทำได้ไม่ยากนัก ผู้เลี้ยงปลาโดยทั่วไปจะสามารถแยกเพศปลาทองได้ ผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาทอง หากเข้าใจวิธีการแยกเพศปลาทองเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้เลือกซื้อหรือจัดเตรียมปลาทองเพศผู้และเพศเมียตามจำนวนที่ต้องการได้
                ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองนั้น ถ้าจะดูจากลักษณะภายนอกของลำตัวแล้วจะไม่พบความแตกต่างกัน   การแยกเพศจะทำได้ก็ต่อเมื่อปลาสมบูรณ์เพศ คือ เป็นปลาโตเต็มวัยแล้ว ซึ่งต้องเลี้ยงไว้ประมาณ 6 - 8 เดือน   เมื่อปลาสมบูรณ์เพศแล้วปลาเพศผู้จะเกิด ตุ่มสิว (Pearl Organ หรือ Nuptial Tubercles) ซึ่งเป็นตุ่มหรือจุดเล็กๆสีขาว เกิดขึ้นบริเวณก้านครีบอันแรกของครีบอก และบริเวณกระพุ้งแก้ม  ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะพอเห็นได้และมักจะเกิดเด่นชัดเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทอง แต่ในช่วงนอกฤดูกาลผสมพันธุ์  เช่นในฤดูหนาว หรือปลาไม่มีความพร้อมทางเพศ   ตุ่มสิวนี้จะมีขนาดเล็กสังเกตุได้ยาก แต่ก็สามารถแยกเพศได้โดยการใช้มือลูบเบาๆที่ครีบอกถ้าเป็นปลาทองเพศผู้จะรู้สึกสากมือเนื่องจากมีตุ่มสิวดังกล่าว แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะรู้สึกว่าครีบอกนั้นจะลื่นนอกจากนั้นถ้าปลามีความพร้อมในการผลมพันธุ์ คือปลาเพศเมียมีไข่แก่ และปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อสมบูรณ์ ถ้าจับที่บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม และที่ช่องเพศจะขยายตัวนูนสูงขึ้น ส่วนปลาเพศผู้ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องลงไปทางช่องเพศ จะเห็นว่ามีน้ำเชื้อซึ่งเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาเล็กน้อยได้
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
          http://home.kku.ac.th/pracha/
 ภาพที่ 21  แสดงบริเวณก้านครีบอันแรกที่จะเกิดตุ่มสิวในปลาทองเพศผู้        
                                       ที่มา : Aquariacentral.com (2010)      
6 วิธีการเพาะปลาทอง               
                  ปลาทองจัดว่าเป็นปลาที่ดำเนินการเพาะพันธุ์ได้อย่างง่ายๆ โดยวิธีการเพาะแบบช่วยธรรมชาติ   ปกติปลาทองจะมีการแพร่พันธุ์วางไข่ในตู้กระจกหรือบ่อที่ใช้เลี้ยงอยู่แล้ว ซึ่งมักจะไล่ผสมพันธุ์วางไข่ในตอนเช้าของวันถัดไปหลังจากที่ผู้เลี้ยงมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ให้ แต่ที่ผู้เลี้ยงไม่พบว่ามีลูกปลาทองเกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลา เนื่องจากว่าปลาทองเป็นปลาที่ไข่ทิ้งไม่มีการดูแลรักษาไข่ เมื่อวางไข่แล้วก็จะหวนกลับมากินไข่ของตัวเองอีกด้วย นอกจากนั้นปลาทองตัวอื่นๆหรือปลาชนิดอื่นที่เลี้ยงรวมอยู่ในตู้ด้วย ก็จะคอยเก็บกินไข่ที่ออกมาด้วย   กว่าที่ไข่ที่เหลืออยู่จะฟักตัวออกมา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 วัน ไข่ก็จะถูกปลาทยอยเก็บกินไปเกือบหมด   ส่วนไข่ที่รอดจากถูกกินจนตัวอ่อนฟักตัวออกมา ตัวอ่อนที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ก็จะกลายเป็นอาหารที่ดีของปลาต่างๆอีก เพราะลูกปลาจะมีขนาดพอๆกับลูกน้ำ ทำให้ถูกจับกินไปจนหมดอย่างรวดเร็ว
                  ดังนั้นหากต้องการลูกปลาทองก็จำเป็นต้องมีการจัดการการเพาะให้ถูกต้อง จึงจะได้ลูกปลาจำนวนมากตามต้องการ  การเพาะปลาทองจะทำได้ดี คือ ปลาวางไข่ง่าย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
6.1 การเตรียมบ่อเพาะ   บ่อที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์  มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร  ขัดล้างให้สะอาดด้วยแปรงและสบู่แล้วฉีดน้ำล้างหลายๆครั้ง จากนั้นเตรียมน้ำใหม่ที่ระดับประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร นอกจากนั้นยังอาจใช้กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นบ่อเพาะปลาทองก็ได้
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 22  แสดงการใช้กะละมังเป็นบ่อเพาะปลาทอง
.
6.2 การเตรียมรัง   ปลาทองเป็นปลาที่มีไข่ประเภทไข่ติด พฤติกรรมการวางไข่นั้นปลาเพศผู้จะว่ายน้ำไล่ปลาเพศเมียไปเรื่อยๆ ปลาเพศเมียเมื่อพร้อมจะวางไข่จะว่ายน้ำเข้าหาพรรณไม้น้ำตามริมน้ำ แล้วปล่อยไข่ครั้งละ 10 - 20ฟอง ปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาก็จะปล่อยน้ำเชื้อตาม ไข่จะได้รับการผสมพร้อมกันนั้นก็เกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่ทำให้ไข่เกาะติดอยู่ตามราก ลำต้น และใบของพรรณไม้น้ำ ดังนั้นการเตรียมรังในบ่อเพาะปลาทอง ควรเป็นรังที่ช่วยให้ไข่ติดได้ง่ายและมากที่สุด คือต้องมีลักษณะเป็นฝอยนิ่มและค่อนข้างยาว รังที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่รังที่ทำจากเชือกฟาง โดยนำเชือกฟางสีใดก็ได้มาผูกเป็นกระจุก(คล้ายกับพู่ที่เชียร์ลีดเดอร์ใช้) มีความยาวประมาณ 20เซนติเมตร   แล้วฉีกให้เป็นฝอยโดยพยายามให้เป็นเส้นฝอยขนาดเล็กให้มากที่สุด จากนั้นนำไปจุ่มในน้ำเดือดเพื่อให้เกิดความนุ่ม แล้วทำกรอบไม้ (อาจใช้ท่อ เอสล่อน)ให้ลอยอยู่ผิวน้ำ ขนาดเล็กกว่าบ่อเพาะเล็กน้อยเพื่อให้กรอบลอยอยู่บนผิวน้ำในบ่อได้ดี นำรังมาผูกในกรอบไม้เพื่อให้รังลอยตัว และรังจะกระจายตัวกัน หากไม่ทำกรอบผูกรัง รังจะถูกแรงลมที่เกิดจากเครื่องแอร์ปั๊ม ทำให้รังลอยไปรวมเป็นกระจุกอยู่ริมบ่อ ปลาจะวางไข่ที่รังได้ยาก การทำให้รังกระจายตัวกัน ช่วยให้ปลาสามารถวางไข่โดยกระจายไข่ตามรังที่จัดไว้ทุกรังได้เป็นอย่างดี
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 23  แสดงลักษณะพู่ทำจากเชือกฟางและรากผักตบชวาที่นำมาใช้เป็นรังในบ่อเพาะปลาทอง
.
6.3 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์  คือการเลี้ยงและคัดปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์จากปลาที่เลี้ยงไว้รวมกัน โดยจะต้องเน้นเป็นปลาที่มีไข่แก่และน้ำเชื้อดี การที่จะเลี้ยงปลาทองให้มีไข่แก่และน้ำเชื้อได้ดีนั้นเป็นเรื่องไม่ยาก จากที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพน้ำดีกว่าการเลี้ยงปลาแบบอื่นๆ เนื่องจากมีระบบกรองน้ำที่ดี ในสภาพน้ำที่ค่อนข้างดีปลาจะใช้อาหารที่ได้รับไปสำหรับการเจริญเติบโต ส่วนการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์จะเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อใดที่คุณภาพน้ำเริ่มมีการสะสมของสิ่งหมักหมมต่างๆมากขึ้น ปลาที่สมบูรณ์เพศแล้วจะเริ่มมีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์มากขึ้น เปรียบเทียบได้กับฤดูร้อนซึ่งน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติจะลดระดับลงเรื่อยๆน้ำจะมีการสะสมแร่ธาตุต่างๆมากขึ้น ปลาจะใช้อาหารที่ได้รับเพื่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการแพร่พันธุ์ในฤดูฝนที่จะมาถึง ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองเพื่อให้ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดีแทบทุกตัวพร้อมกัน จึงต้องอาศัยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด คือ การปรับปรุงระบบเครื่องกรองน้ำ โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องกรองน้ำแบบหม้อกรองในตู้ ซึ่งช่วยทำให้น้ำใสได้บ้างพอควรและเก็บตะกอนไว้ได้ด้วย ล้างหม้อกรองประมาณ 3 วัน ต่อครั้ง และงดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงปลาโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องเติมน้ำเนื่องจากระดับน้ำลดลง ควรเติมในช่วงเช้า เพราะการเติมน้ำในตอนเย็นซึ่งอุณหภูมิเริ่มลดลง และปลาได้รับน้ำใหม่อาจมีผลกระตุ้นให้ปลาไข่แก่บางตัววางไข่ในเช้าวันถัดไปได้ พ่อแม่พันธุ์ปลาทองที่จะนำมาใช้เพาะพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 10 เดือน นำมาเลี้ยงรวมกันเป็นเวลาประมาณ 30 - 50 วัน ปลาทองที่คัดมาเลี้ยงแทบทุกตัวจะมีไข่แก่และน้ำเชื้อสมบูรณ์เหมือนกันแทบทุกตัว ทำให้สะดวกที่จะคัดไปปล่อยลงบ่อเพาะ และควรคัดไปปล่อยเวลาประมาณ 16.00 น.
                ข้อควรพิจารณาในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง ควรหลีกเลี่ยงปลาในครอกเดียวกันเพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 24  พ่อแม่พันธุ์ปลาทองในบ่อเลี้ยง  
.
6.4 จำนวนปลาและสัดส่วนเพศ  การปล่อยปลาลงบ่อเพาะแต่ละบ่อควรปล่อยปลาเพียงบ่อละ  1 คู่ หรือใช้ปลาเพศเมีย 1 ตัว กับปลาเพศผู้ 2 ตัว เนื่องจากการใช้ปลามากกว่า 1 คู่ นั้น ในขณะที่ปลาเพศเมียตัวที่พร้อมจะวางไข่ถูกปลาเพศผู้ว่ายน้ำไล่ไปนั้น จะถูกปลาตัวอื่นๆคอยรบกวนโดยว่ายน้ำติดตามกันไปหมดทุกตัว เพราะปลาเหล่านั้นต้องการตามไปกินไข่ของแม่ปลาที่จะปล่อยออกมา การปล่อยปลาหลายคู่จึงกลับกลายเป็นข้อเสีย ดังนั้นการปล่อยปลาเพียงบ่อละคู่จะทำให้ไข่มีอัตราการผสมค่อนข้างดี และได้จำนวนมาก  

 http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 25  ลักษณะของพ่อแม่ปลาทองที่คัดปล่อยลงบ่อเพาะ
.
6.5 การเพิ่มน้ำและลม  หากต้องการให้ปลาได้รับการกระตุ้นและเกิดการวางไข่อย่างแน่นอน ควรจะมีการให้ลมเพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียนแรงพอสมควร นอกจากนั้นถ้าหากสามารถทำให้เกิดกระแสน้ำ หรือทำให้เกิดฝนเทียม ก็จะทำให้ปลาวางไข่ได้ง่ายขึ้น ฉนั้นบ่อเพาะที่ดีจะต้องมีระบบน้ำล้นที่ดีด้วย
6.6 การวางไข่ของปลา  ถ้าหากคัดปลาได้ดี คือ ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดี ปลาจะผสมพันธุ์วางไข่ตอนรุ่งเช้าของวันถัดไป หากปลายังไม่วางไข่จะปล่อยพ่อแม่ปลาไว้อีก 1 คืน แต่ถ้าเช้าวันถัดไปปลาก็ยังไม่วางไข่  แสดงว่าผู้เพาะคัดปลาไม่ถูกต้อง คือปลาเพศเมียที่คัดมาเพาะมีรังไข่ยังไม่แก่จัดพอที่จะวางไข่ได้ จะต้องปล่อยพ่อแม่ปลาที่คัดมาเพาะกลับคืนลงบ่อเลี้ยง แต่ถ้าปลาวางไข่จะสังเกตได้ว่าน้ำในบ่อเพาะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยมักจะเกิดเมือกเป็นฟองตามผิวน้ำและรัง เมื่อพิจารณาที่รังจะเห็นว่ามีไข่ปลาทอง มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อนค่อนข้างใสเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ติดอยู่ตามเส้นเชือกภายในรัง เม็ดไข่ที่ดูใสนี้แสดงว่าเป็นไข่ที่ได้รับการผสมหรือไข่ดี และจะมีเม็ดไข่ที่สีขุ่นขาวซึ่งเป็นไข่ที่ไม่ได้รับการผสมหรือเป็นไข่เสีย
.
http://home.kku.ac.th/pracha/
ภาพที่ 26  แสดงลักษณะไข่ปลาทองที่ติดอยู่ที่รากผักตบชวา      
                                                          ไข่ดีจะใส ส่วนไข่เสียจะสีขุ่นขาว
7 การฟักไข่ปลาทอง            
                เมื่อประสบผลสำเร็จในการเพาะปลาทองหรือสามารถทำให้ปลาทองวางไข่ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อเพาะเป็นบ่อฟักไข่ได้เลย โดยการช้อนเอาพ่อแม่ปลาออก จากนั้นเพิ่มระดับน้ำเป็น 30 - 40เซนติเมตร  เปิดแอร์ปั๊มเพื่อให้ออกซิเจนและเกิดการหมุนเวียนน้ำตลอดเวลา และถ้าสามารถเพิ่มน้ำใหม่ทำให้มีการระบายน้ำด้วย จะช่วยไล่ความคาวที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของไข่ออกไปเรื่อยๆ จะทำให้ไข่ปลาทองฟักตัวได้ดีไม่ค่อยมีการติดเชื้อ แต่ต้องใส่ผ้ากรองกันไว้ที่ทางออกของท่อน้ำล้น  เพื่อกันลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่ไม่ให้ไหลไปตามน้ำ  แม่ปลา 1 ตัวจะสามารถวางไข่ได้ครั้งละ  1,000 - 3,000 ฟอง ไข่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 48 - 56 ชั่วโมง (2 - 3  วัน)  ลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่แล้วมักจะเกาะอยู่ที่รัง  หรือว่ายน้ำออกไปเกาะอยู่ที่ผนังบ่อ  รอจนเช้าวันที่ 4 หลังจากที่ปลาวางไข่จึงค่อยๆเขย่ารังเพื่อไล่ลูกปลาออกจากรัง แล้วปลดรังออก
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 27  ลักษณะของลูกปลาทองที่ฟักออกจากไข่แต่ยังมีถุงอาหารอยู่  ยังไม่ว่ายน้ำจะเกาะอยู่ที่ผนัง 
                                                              
8 การอนุบาลลูกปลาทอง                
                บ่อที่จะใช้สำหรับอนุบาลลูกปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ ขนาด 4 - 10 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ40 - 50 เซนติเมตร  เป็นบ่อที่สามารถถ่ายเทน้ำได้อย่างดี โดยเฉพาะถ้าสามารถปรับระบบน้ำไหลได้จะทำให้ลูกปลามีความแข็งแรงมาก เจริญเติบโตรวดเร็วและมีอัตรารอดดี เพราะการระบายน้ำจะช่วยระบายของเสียหรือสิ่งขับถ่ายของลูกปลาออกไปได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกปลาเติบโตเร็วก็คือ การระบายน้ำและการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำทุกวัน 
                การเลี้ยงลูกปลาทองหรือการอนุบาลจำเป็นต้องอาศัยสังเกตุเป็นหลัก การจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนกระทำได้ยาก เริ่มจากลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ ในช่วงแรกจะมีถุงอาหาร (Yolk Sac) ติดอยู่ที่หน้าท้อง ลูกปลาจะยังไม่กินอาหาร สังเกตุได้จากการที่ลูกปลาจะเกาะอยู่ที่รังหรือผนังบ่อ เมื่อลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารหมดแล้วลูกปลาจึงจะว่ายน้ำตามแนวระดับไปเรื่อยๆเพื่อหาอาหารกิน ควรดำเนินการให้อาหารดังนี้
8.1 ช่วงแรก   เนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารได้แทบทุกชนิด จัดว่าเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาหารที่มีชีวิตในการอนุบาลลูกปลาทอง การอนุบาลลูกปลาทองเลือกใช้อาหารได้ดังนี้
               ไข่ต้ม  ใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ดต้มสุก แล้วเอาเฉพาะไข่แดงไปขยี้น้ำผ่านผ้าไนล่อนหรือกระชอน จะได้น้ำไข่แดงเหมือนน้ำตะกอน นำไปสาดให้ปลากิน ควรใช้ไข่แดงเลี้ยงลูกปลาเป็นเวลา 3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารและกินอาหารเก่ง ขนาดของลูกปลาก็จะโตขึ้นอย่างเด่นชัด
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 28  ลักษณะของลูกปลาทองที่ยังไม่ได้กินอาหาร (ซ้าย)
                                               กับที่ได้กินไข่ต้มแล้วที่ส่วนท้องจะมีสีขาว (ขวา)  
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 29  แสดงการใช้ไข่แดง
ขยี้ผ่านผ้าขาวบางเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกปลาทอง  
.
                 อาหารผง ใช้อาหารผงอนุบาลลูกปลาดุก ใช้ให้ต่อจากการใช้ไข่ต้มได้เลย โดยในช่วงแรกควรให้โดยโปรยลงบนผิวน้ำ อาหารจะค่อยๆจมตัวลง เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5 วัน  จากนั้นควรเปลี่ยนวิธีให้จากการโปรยอาหารลงผิวน้ำ เป็นนำอาหารผงมาคลุกน้ำพอหมาดๆ   อาหารพวกนี้จะมีคุณสมบัติในการปั้นก้อนได้ดี แล้วจึงนำไปให้ปลา ลูกปลาก็จะมาตอดกินอาหารได้เอง
                สำหรับในเรื่องของปริมาณอาหารที่จะให้ปลานั้น เนื่องจากลูกปลามีขนาดเล็กมากการกำหนดปริมาณอาหารเป็นจำนวนตายตัวนั้นค่อนข้างยาก เช่นการใช้ไข่แดง ปริมาณที่จะให้แต่ละมื้อจะใช้ประมาณเท่าเมล็ดถั่วแดงต่อลูกปลาที่เกิดจากแม่ปลา 1 แม่  ผู้เลี้ยงต้องอาศัยการสังเกตและการเอาใจใส่ค่อนข้างมาก การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสีย ลูกปลาจะยิ่งเติบโตช้าและมักจะติดเชื้อเกิดโรคระบาดตายเกือบหมด แต่ถ้าน้อยเกินไปลูกปลาก็จะโตช้าและมักจะมีขนาดแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลูกปลาขนาดโตไม่กี่ตัว วิธีการกะปริมาณอาหารที่ดีคือ ผู้เลี้ยงจะต้องดูจากตัวลูกปลาภายหลังจากที่ให้อาหารไปแล้วประมาณ 15 - 20 นาที ใช้แก้วน้ำตักลูกปลาขึ้นมาดู ถ้าเป็นช่วงที่ให้ไข่แดงเป็นอาหาร จะเห็นว่าที่บริเวณท้องของลูกปลาจะมีสีขาว ถ้าเป็นอาหารผงท้องจะเป็นแนวดำดังนั้นถ้าเห็นว่าลูกปลาทุกตัวมีอาหารที่บริเวณท้องเป็นแนวยาวตลอด ก็แสดงว่าอาหารพอ แต่ถ้าเห็นว่าลูกปลาบางส่วนมีอาหารที่ท้องอยู่น้อยก็แสดงว่าอาหารไม่เพียงพอ ควรให้อาหารเพิ่มอีก
                หมายเหตุ ช่วงนี้ควรให้อาหารวันละ 3 ครั้ง  คือ เช้า กลางวัน และเย็น
8.2 ช่วงหลัง   ถึงแม้ลูกปลาจะกินอาหารผงได้ดี แต่อาหารผงก็มีข้อเสียที่มักมีการแตกตัวและกระจายตัวได้ง่ายซึ่งเป็นบ่อเกิดของน้ำเสีย ดังนั้นเมื่ออนุบาลลูกปลาในช่วงแรกด้วยไข่และอาหารผง เป็นเวลาประมาณ  15 วัน   ก็ควรจะเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำโดยใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกปลาดุกเล็กระยะแรก ให้ลูกปลาได้เลยจะเห็นว่าอาหารจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำ จากนั้นประมาณ 15 - 20 นาที อาหารจะพองขยายตัวขึ้นและนิ่ม ในวันแรกลูกปลาจะยังไม่เคยชินกับอาหารลอยน้ำ ฉนั้นให้ใช้นิ้วบีบอาหารที่ลอยอยู่บางส่วนให้จมตัวลง และมีอาหารลอยน้ำเหลืออยู่บ้าง ทำเช่นนี้ประมาณ  3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารเม็ดลอยน้ำได้ดี     
            ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญ  คือ การทำความสะอาดบ่ออนุบาล โดยเฉพาะในการอนุบาลช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไข่แดงหรืออาหารผงให้เป็นอาหารลูกปลา ทั้งไข่แดงและอาหารผงจะเหลือตกตะกอนเป็นเมือกอยู่ที่พื้นก้นบ่อเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นหลังจากให้อาหารเช้าแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดผนังและพื้นก้นบ่อโดยใช้ฟองน้ำค่อยๆลูบไปตามผนังและพื้นก้นบ่อให้ทั่ว ถ้าเป็นบ่อที่มีระบบกรองที่ดี ตะกอนเมือกที่ถูกขัดออกมาก็จะถูกขจัดออกได้โดยง่าย  
.http://home.kku.ac.th/pracha/

ภาพที่ 30  แสดงลักษณะบ่อดินขนาด 400- 500 ตารางเมตร ที่ใช้อนุบาลลูกปลาทอง
                                                                                                                              
9 การเลี้ยงปลาทอง             
                    เป็นการเลี้ยงเพื่อให้ปลาทองมีขนาดใหญ่เหมาะสมที่จะส่งตลาดต่อไป บ่อเลี้ยงปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาด 2 - 4 ตารางเมตร และควรมีจำนวนหลายบ่อ หากต้องการให้ ปลาเจริญเติบโตเร็วจะต้องจำกัดจำนวนปลาที่ปล่อยเลี้ยง โดยปล่อยในอัตรา 50 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ควรทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยลงบ่อเลี้ยง จากนั้นเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดประมาณ 40 - 60 วันปลาจะเติบโตจนสามารถส่งจำหน่ายได้ เมื่อส่งปลาออกจำหน่ายแล้วก็ทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยเลี้ยงอีกต่อไป สำหรับลูกปลาที่เหลืออยู่ในบ่ออนุบาลซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการให้อาหารดีและมีการถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ลูกปลาก็จะเจริญเติบโตขึ้นไม่มากนักเนื่องจากจำนวนปลาเป็นข้อจำกัด แต่เมื่อถูกกระจายออกไปยังบ่อเลี้ยงก็จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
            ปัจจุบันมีการอนุบาลและเลี้ยงปลาทองในบ่อดิน  โดยใช้บ่อขนาด 100 - 200 ตารางเมตร
.

http://home.kku.ac.th/pracha/http://home.kku.ac.th/pracha/
ตัวอย่างฟาร์ปลาทองที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีบ่อซิเมนต์ 487 บ่อ ในพื้นที่ 2 ไร่

http://home.kku.ac.th/pracha/
ปลาสิงห์ญี่ปุ่นเกรดเอ รอจำหน่าย 
http://home.kku.ac.th/pracha/
อุปกรณ์ในการล้างบ่อ

http://home.kku.ac.th/pracha/http://home.kku.ac.th/pracha/
เติมด่างทับทิมฆ่าเชื้อป้องกันโรค                                          บ่อดินสำหรับอนุบาลลูกปลา
ภาพที่ 31  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
.http://home.kku.ac.th/pracha/
http://home.kku.ac.th/pracha/


http://home.kku.ac.th/pracha/
http://home.kku.ac.th/pracha/

 ภาพที่ 32  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศจีน มีการจัดทัวร์ชมฟาร์ม 
                                           ที่มา : Vermilliongoldfishclub.com (2006)                          
 . http://home.kku.ac.th/pracha/http://home.kku.ac.th/pracha/
 ภาพที่ 33  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทอง( Siamaquarium )ในประเทศไทย 
                                             ที่มา : Siamaquarium.com (2010)                 
                                                                                                                   
10 ชนิดปลาที่ดำเนินการเพาะพันธุ์เช่นเดียวกับปลาทอง  
                        มีปลาสวยงามที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถดำเนินการเพาะพันธุ์และการอนุบาลลูกปลาได้เช่นเดียวกับปลาทอง ปลาสวยงามดังกล่าวคือ ปลาคาร์พ  หรือ ปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งเป็นปลาที่มีการจัดลำดับชั้นอยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาทอง และมีต้นตระกูลคล้ายกันมาก การจัดการบ่อเพาะ การเตรียมรัง การคัดเพศ และการจัดสัดส่วนเพศในการเพาะพันธุ์ปลาคาร์พ กระทำคล้ายคลึงกับการเพาะปลาทอง ต่างกันตรงที่บ่อเพาะปลาคาร์พจะมีขนาดใหญ่กว่าบ่อเพาะปลาทองค่อนข้างมาก เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ปลาคาร์พจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาทองมาก และการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่ปลาคาร์พ 1 ตัวจะให้ไข่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ 20,000 - 50,000 ฟอง การใช้บ่อเพาะที่มีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้ไข่มีการผสมต่ำเพราะความคาวที่เกิดขึ้น ขนาดของบ่อเพาะที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 6 - 12ตารางเมตร สำหรับการแยกเพศของปลาคาร์พนั้นก็อาศัยความแตกต่างของตุ่มสิวเช่นกัน ซึ่งตุ่มสิวของปลาคาร์พเพศผู้จะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับของปลาทองเพศผู้ จะต้องใช้มือลูบสัมผัสที่บริเวณครีบหู ซึ่งจะรู้สึกถึงความสากของตุ่มสิวที่มีได้อย่างชัดเจน คือที่ครีบหูของปลาคาร์พเพศผู้จะมีความสากเนื่องจากตุ่มสิวที่มีอย่างชัดเจน ส่วนครีบหูของปลาคาร์พเพศเมียจะลื่นมือเนื่องจากไม่มีตุ่มสิวเกิดขึ้น โดยเฉพาะปลาคาร์พเพศผู้ที่มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องเพียงเบาๆก็จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาง่ายดายกว่าในปลาทองมาก นอกจากนั้นปลาคาร์พเพศเมียที่มีรังไข่สมบูรณ์จะสามารถสังเกตุจากการขยายตัวของส่วนท้องได้ชัดเจน ส่วนท้องจะค่อนข้างนิ่มและช่องเพศจะมีการขยายตัวนูนออกอย่างเด่นชัด ส่วนการจัดการด้านอื่นๆตลอดจนการอนุบาลลูกปลาช่วงแรก จะดำเนินการเช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาทอง แต่เมื่ออนุบาลลูกปลาช่วงแรกเป็นเวลาประมาณ 5 - 10 วันแล้ว ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อดินขนาด 200 -600 ตารางเมตร หรืออนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ ประมาณ 40 - 50 ตารางเมตร เนื่องจากลูกปลามีปริมาณมาก จึงจะทำให้ลูกปลาเจริญเติบโตดี