วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลากระพง

                       การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว


ชีววิทยาของปลากะพงขาว                                     
               ปลากะพงขาว                  มีชื่อวิทยาศาสตร์
(Scientific name) ว่า Lates calcarifer ซึ่งลักษณะโดยทั่วๆไปของปลากะพงขาว มีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาวและหนาแบนข้างเล็กน้อย   บริเวณไหล่จะโค้งมน   ส่วนตัวลาดชัน  และเว้า         ส่วนของขากรรไกรล่าง
ยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ปากกว้าง ขอบปากบนเป็นแผ่นใหญ่      แยกเป็นแนวตอนต้น            และอนท้ายอย่างชัดเจน บริเวณส่วนปากจะยืดหดได้บ้าง ช่องปากเฉียงลงด้านล่างเล็กน้อย มีฟันเล็กละเอียดบนขากรรไกรบนและล่าง     และที่เพดานปาก     ตาของปลาชนิดนี้มีขนาดกลาง       ไม่มีเยื่อที่เป็นไขมันหุ้ม ผ่นปิดเหงือกมีขนาดใหญ่   มีขอบหลังเป็นหนามแหลม
4 ซี่ และเรียงต่อด้วยซี่เล็กๆ จัดตามแนวหลัง ด้านบนส่วนหัว และบนแผ่นเหงือก  มีเกล็ดขนาดต่างๆ กัน   เกล็ดบริเวณลำตัวค่อนข้างใหญ่     ด้านหลังมีสีเทาเงินรือเขียวปนเทาส่วนท้องมีสีเงินแกมเหลือง    บริเวณด้านข้างของลำตัวมีสีเงิน  ครีบหลัง  ครีบก้น  ครีบหาง จะมีสีเทาปนดำบางๆ มีครีบหลัง 2 ตอน  ตอนแรกอยู่ตรงตำแหน่งของครีบท้องมีก้านครีบแข็ง  ที่แหลมคม      ขนาดใหญ่  7- 8 ก้าน   เชื่อมต่อกันด้วยเยื่อบางๆ
ครีบหลังตอนที่ 2 แยกจากตอนแรกอย่างเห็นได้ชัด มีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน ก้านครีบอ่อนมีปลายแตกแขนงมี10-11 ก้าน ครีบหูและครีบอกยาว ไม่ถึงรูก้น ครีบก้นมีตำแหน่งใกล้เคียงกับครีมหลังตอนที่2 ซึ่งประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 3 ก้าน     ก้านครีบอ่อน 7-8 ก้าน   ข้อหางสั้น ครีบหางค่อนข้างกลมเส้นข้างตัวโค้งไปตามแนวสันหลัง มีเกล็ดบนเส้นข้างตัว 52-61 เกล็ด

                             การแพร่กระจาย 
               ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อย  ขนาดใหญ่ที่สุด เจริญเติบโตได้ดีในน้ำกร่อยและน้ำจืด จัดได้ว่าเป็นปลาประเภท2 น้ำ คือในช่วงชีวิตของปลากะพงขาว  จะมีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างแหล่งน้ำจืด     และน้ำเค็ม         ปลากะพงขาวขนาดใหญ่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่
ไม่ห่างไกลออกไปจากฝั่งมากนัก   พบมากบริเวณปากแม่น้ำลำคลอง   ปากทะเลสาบและปากอ่าวบริเวณ
ที่เป็นป่าชายเลน ที่มีน้ำเค็มท่วมถึง โดยจะพบอยู่ทั่ว ๆ ไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่พม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และแถบชายฝั่งทะเลของจีน ก็พบปลาชนิดนี้เช่นเดียวกัน สำหรับประเทศไทยเรานั้นสามารถพบปลากะพงขาวตามชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำใหญ่ๆ ที่มีทางออกติดต่อกับทะล
ที่มีป่าชายเลนขึ้นปกคลุมทางจังหวัดตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม เป็นต้น
                ปลากะพงขาวจะผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำทะเลที่มีความเค็มประมาณ 28-32 ppt ในทะเลที่มีความลึก หลังจากนั้นไข่จะถูกพัดพาเข้าสู่บริเวณชายฝั่งและฟักออกเป็นตัว ลูกปลากะพงขาวที่ฟักออกเป็นตัว จะดำรงชีวิตในน้ำกร่อยและในน้ำจืด  จนมีอายุได้ 2-3 ปี  มีขนาด 3-5 กิโลกรัม  จะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเล
เพื่อทำการผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป

การแยกเพศ                                                                                                                


                ปลากะพงขาวเป็นปลาที่สังเกตเพศได้ยาก แต่ก็สามารถสังเกตเพศได้จากลักษณะภายนอกของตัวปลา โดยปลาเพศผู้จะมีลักษณะลำตัวยาวเรียวกว่าเพศเมีย ลำตัวมีส่วนลึกที่น้อยกว่าปลาเพศเมีย และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปลาเพศเมียที่มีขนาดลำตัวยาวเท่ากัน ในปลาเพศเมียนั้น เมื่อถึงฤดูวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ส่วนท้องจะอวบเปล่ง สังเกตได้ชัดเจน เมื่อเวลาเอามือคลำที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมา

แหล่งพันธุ์ปลา                                                                                                            
               การรวบรวมลูกพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น การรวบรวมลูกปลาในแต่ละครั้งพบว่ามีปัญหาหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น ลูกปลาที่รวบรวมได้ในแต่ละครั้งมีจำนวนที่ไม่แน่นอน ปริมาณลูกปลาที่รวบรวมได้มีปริมาณที่ไม่มากพอกับความต้องการเลี้ยง ดังนั้นแหล่งลูกพันธุ์ที่สำคัญได้แก่ พันธุ์ลูกปลาจากโรงเพาะฟักปลากะพงขาวของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง หรือศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของกรมประมง หรือโรงเพาะฟักปลากะพงขาวของเอกชน



 การเลือกสถานที่สร้างบ่อ                                                                                             
               การเลี้ยงปลากะพงขาว ผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาถึงสถานที่ในการสร้างบ่อ เพื่อให้ความเหมาะสมกับสภาพของปลาที่เลี้ยง สิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณามีดังนี้
                ดิน คุณสมบัติของดินที่ความเหมาะสมที่จะใช้ในการสร้างบ่อเลี้ยง ควรจะเป็นบ่อดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย เนื่องจากดินทั้งสองประเภทนี้สามารถกักน้ำได้ตามต้องการ 
               แหล่งน้ำ สถานที่ดีและเหมาะสมควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำเป็นสำคัญ เพราะในการเลี้ยงปลาจะต้องมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ ๆ ต้องมีน้ำใช้ตลอดปี คุณภาพของน้ำจะต้องดีและมีความเหมาะสม
                แหล่งชุมชน สถานที่เลี้ยงปลากะพงขาวที่ดีควรอยู่ใกล้แหล่งชุมชนพอสมควร แต่จะอยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลอง เนื่องจากมลพิษต่าง ๆ มีผลต่อการเลี้ยงปลากะพงขาว
               การคมนาคม สถานที่เลี้ยงปลากะพงขาวที่ดี ควรมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก เพราะสามารถที่จะช่วยให้การดำเนินการติดต่อต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี
                 สภาพสังคม สภาพของสังคมในบริเวณที่เลี้ยงปลากะพงขาวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สภาพสังคมที่ดีนั้น มีความเหมาะสม ไม่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม จะทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความสะดวก


การเตรียมบ่อ                                                                                                              

               -  บ่อใหม่ หมายถึงบ่อที่เพิ่งทำการขุดเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่ได้มีการเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดใด ๆ มาก่อน ในการเตรียมบ่อโดยวิธีนี้จะต้องกระทำตามขั้นตอนที่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมดังนี้
1.การปรับค่าเป็นกรด-ด่าง ให้มีความเหมาะสม
2.การตากบ่อ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป
บ่อเก่า ในการเตรียมบ่อที่เคยเลี้ยงสัตว์น้ำมาแล้ว จะเริ่มจากการสูบน้ำจากบ่อให้หมด ขุดลอกเลนและกำจัดเศษวัชพืช และศัตรูของปลาออก ตามบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง ในกรณีที่ไม่สามารถจะสูบน้ำออกจากบ่อให้หมดได้ ให้ใช้โล่ติ๊นในอัตราส่วน 10 กิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อ 1 ไร่ ระดับน้ำ 30-50 เซนติเมตร ทุบโล่ติ๊นแล้วราดน้ำยาให้ทั่วบ่อปลาที่ไม่ต้องการจะตายในที่สุดจับปลาเหล่า นั้นให้หมดไปจากบ่อ สูบน้ำเข้าให้ได้ระดับแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์จึงระบายน้ำออก แล้วใส่น้ำใหม่จะได้น้ำที่ใช้งานได้ทันที
 
อัตราการปล่อยลูกปลากะพงขาว             
 
             การปล่อยลูกปลากะพงขาวนั้น มีหลักการเดียวกับการปล่อยสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ กล่าวคือ ควรปล่อยปลาในอัตราความหนาแน่นที่มีความเหมาะสม ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ถ้าจะปล่อยปลากะพงขาว ควรได้คำนึงถึงจำนวนปลาชนิดอื่น ๆ ที่มีในบ่ออัตราการปล่อยลงเลี้ยงรวมประมาณ 10-50 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่   ส่วนการเลี้ยงปลากะพงขาวเพียงชนิดเดียว   อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง
จะปล่อยปลาได้ประมาณ 5-20 ตัวต่อตารางเมตร
               อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากะพงขาวในปัจจุบันได้แก่ ปลาเป็ดอย่างเดียวกับการเลี้ยงในกระชัง ขนาดของอาหารมีความสำคัญมาก เพราะปลากะพงขาวจะกินอาหารที่มีขนาดพอดีกับปาก โดยวิธีการฮุบอาหารบนผิวน้ำเมื่ออาหารตกลงสู่พื้นบ่อ ปลากะพงขาวจะไม่กินอาหารเหล่านั้น ทำให้น้ำเน่าเสียได้ หลักการให้อาหารปลากะพงขาว จึงพอจะสรุปได้ดังนี้
               1. ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง ตรงตามเวลา
               2. ให้อาหารให้เป็นที่ เช่น บริเวณที่ใกล้กับประตูน้ำบริเวณท่อที่ระบายน้ำเข้า
               3. หลีกเลี่ยงการให้อาหารบริเวณมุมบ่อทั้งสี่ เพราะจะทำให้เกิดการหมักหมมของอาหารที่เหลือได้
               4. โยนอาหารให้ปลาครั้งละน้อย ๆ รอจนอาหารหมดก่อนจึงให้ต่ออีกเช่นนี้เรื่อยไป
               5. ปริมาณอาหารที่ให้จะสังเกตได้จากปลาจะไม่ขึ้นมาฮุบอาหารกินอีก จึงหยุดให้อาหาร
นอกจากปลาเป็ดแล้ว ปลาเล็ก ๆ หรือกุ้งที่มีอยู่ในบ่อก็สามารถที่จะเป็นอาหารให้กับปลากะพงขาวได้ดี ถ้าปลาอดอาหารพบว่า ปลากะพงขาวจะกินกันเองด้วย ปลาเป็ด ปลาสด ปลาหมึก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อปลากินหมด จะเหลือลงสู่พื้นบ่อ ทำให้เกิดการเน่าเสีย เมื่อมีจำนวนมากขึ้นจะมีผลทำให้น้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นเหตุให้ปลาเกิดโรคได้โดยง่าย การถ่ายเปลี่ยนน้ำโดยสม่ำเสมอ จึงช่วยรักษาคุณภาพท้องน้ำให้มีความเหมาะสมได้ การถ่ายเปลี่ยนน้ำที่นิยมใช้มี 2 วิธีด้วยกันคือ
1. การเติมน้ำเข้าทุก ๆ วัน
2. การถ่ายน้ำเก่าออก 50-75 เปอร์เซ็นต์ แล้วระบายน้ำใหม่เข้าสู่บ่อ ซึ่งนิยมมากเมื่อน้ำเริ่มเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น