วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาตะเพียน


ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตราอินเดียปากีสถานและยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ

อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ

1. ความเป็นอยู่
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส
2. นิสัยการกินอาหาร
2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว
2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
3. การแยกเพศ
ลักษณะภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะปลาตัวผู้และตัวเมียที่สมบูรณ์เพศ
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะเพศปลาตัวผู้และตัวเมีย

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

การเลี้ยงปลาตะเพียนมีรูปแบบการเลี้ยงหลายลักษณะ ได้แก่ การเลี้ยงในบ่อดิน ในนาข้าว ในร่องสวน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาในบ่อดินกันมาก
การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน
     บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาตะเพียนควรมีขนาดตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไปน้ำลึก 1 เมตร ควรมีการเตรียมบ่อโดยโรยปูนขาว อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่บ่อ 10 ตารามเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าควรกำจัดวัชพืชออกให้หมด ลอกโคลนเลนและแต่งคันบ่อให้เรียบร้อย ตากบ่อให้แห้งประมาณ 7 วัน การใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่ในอัตรา 50 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ใช้ 4 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ยยูเรีย) สำหรับอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมนั้นควรปล่อย 2 – 3 ตัวต่อตารางเมตร
อาหาร
      ปลาตะเพียนขาวสามารถกินอาหารได้หลายชนิด แต่โดยธรรมชาติแล้วปลาตะเพียนขาวขนาดเล็กไม่เกิน 3 นิ้ว จะกินพวกแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเปลี่ยนมากินอาหารเป็นพวกพืชน้ำชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรมีทั้งการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงในระยะเริ่มต้น เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของปลาพร้อมทั้งการให้อาหาร สมทบที่มีโปรตีนในอาหารที่เหมาะสม
การให้อาหาร
     การให้อาหารปลาตะเพียนขาวจะให้ในอัตรา 3 – 10 % ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง (ปลา 100 กรัมให้อาหาร 3 – 10 กรัม) ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของปลา ปลาขนาดเล็กจะต้องการอาหารที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่ โดยให้วันละ 1 – 2 ครั้ง การให้อาหารควรให้ตรงเวลา และสม่ำเสมอในบริเวณเดียวกันทุกครั้ง
ภาพที่ 3 การให้อาหารปลาตะเพียนขาว
โรคพยาธิและการป้องกันรักษา
     ปลาตะเพียนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างไว เช่นการเปลี่ยนอุณหภูมิในรอบวัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นกรด – ด่างของน้ำ ตลอดจนสารพิษต่าง ๆ ที่มากระทบ ดังนั้นการจัดการด้านคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีความจำเป็นเพราะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไว้ล่วงหน้าก่อน
สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค

- นำลูกปลาติดโรค
–พยาธิมาเลี้ยงโดยได้กำจัดโรคพยาธิเสียก่อน
 - เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป
- ให้อาหารมากเกินไป
- น้ำมีคุณภาพเสื่อมโทรมลง
 - คุณภาพอาหารต่ำหรือไม่สด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น