วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาทับทิม


การเลี้ยงปลาทับทิม 

การเลี้ยงปลาทับทิม

ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิม

ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลานิล กับ ปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงิน คล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล
ที่เรียกว่า ปลานิลแดง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้ กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของมันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวยเป็นสีชมพูอมแดงซึ่งปลานิลแดงนี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้ว พบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น

 ลักษณะของปลาทับทิม

1.เส้นใยเนื้อละเอียดแน่นจึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น
2.มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลาและเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์
3.ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง40เปอร์เซ็นต์และมีส่วนสันหนามาก
4.ส่วนหัวเล็กโครงกระดูกเล็กก้างน้อย
5.ผิวมีสีแดงอมชมพูเนื้อทุกส่วนสีขาวทำให้น่ารับประทาน
6.เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง         25        ppt
7.อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก
8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆได้ดี
9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้โดยไม่มีผลเสียต่อปลาให้ผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
556
การเตรียมบ่อ
1.  บ่อใหม่  หมายถึง  บ่อดินที่ชุดใหม่จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคปลา  แต่การคำนึงความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแต่ละพื้นที่ของดิน  ดังนั้นบ่อใหม่ควรพิจารณากระทำสิ่งต่อไปนี้
1.1  ต้องมีการวัด  pH  และปรับ pH  ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5  ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ  100 – 150  กก./ไร่
1.2  ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอัตราที่ควรใส่  คือ  200 – 250  กก./ไร่  หรือมากกว่านั้น
1.3  สูบน้ำใส่บ่อ  ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ  1 – 2  สัปดาห์  เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา  หรืออาจนำพันธุ์ไรแดงมาปล่อยเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ
1.4  การปล่อยลูกปลาควรปล่อยในตอนเช้า  เพราะอากาศและน้ำมีอุณหภูมิต่ำทำให้ปลาไม่ช๊อคในขณะปล่อยควรจะนำถุงบรรจุปลาแช่น้ำทิ้งไว้  10 – 20  นาที  หรือค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปในถุงเพื่อให้อุณหภูมิใกล้เคียงกันแล้วจงเทลูกปลาลงบ่อ
2.  บ่อเก่า  เป็นบ่อซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้วก่อนปล่อยลูกปลาลงย่อ  ควรปฏิบัติดังนี้                            1.1    ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด
2.2 ลอกเลนพร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด  เพราะเป็นที่อยู่ของศัตรูปลาเลนจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์วัตถุและโรคปลา  และตกแต่งบริเวณคันบ่อที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์
2.3  ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน  แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป
2.4  ใช้ปูนขาวอัตราส่วน  50 – 100  กิโลกรัม / ไร่  หรือมากกว่า  ถ้าดินเป็นกรด  ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค  ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน  โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ
2.5  ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  100 – 200  กิโลกรัม / ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับบ่อปลา
2.6  สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้  10 – 15  วัน  อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ
2.7  บ่อเก่าถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูพืชปลาด้วยโล่ติ้น  หรือกากชา  อัตรา 5 – 10  กิโลกรัม  ต่อ น้ำ  100  ลูกบาศก์เมตร  จะทำให้ศัตรูปลาตาย  ทิ้งไว้ 5 – 7  วัน  พิษของสารพิษจะสลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ
2.8  ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ่อเก่าหลังการจับปลาและฆ่าศัตรูปลาแล้วแต่ไม่ได้ระบายน้ำทิ้งเพราะขาดน้ำใหม่ควรใช้ปูนขาวในอัตรา  250 – 300  กิโลกรัม / ไร่

 ขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิม

1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)
001
2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 60%
3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)
1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว จะแก้ไขไม่ได้
2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. – 11.00 น. – 13.30 น. – 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่ 50-55 กรัม)
3. หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)
4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500 กรัม
5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)
การเพาะขยายพันธุ์
1. ปลาที่จะนำมาเพาะขยายพันธุ์จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป แต่ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยความยาวของปลาที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 10 ซม.และน้ำหนักไม่น้อยกว่า 150 กรัม
2. เตรียมบ่อเพาะโดยสูบน้ำในบ่อให้แห้ง โรยปูนขาว 60 – 100 กก./ไร่ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วเติมน้ำลงไป 80 – 100 ซม. เติมปุ๋ยคอก 200 กก./ไร่ หรือปุ๋ยเคมี 8 กก./ไร่ ทิ้งไว้ให้น้ำเขียว

68
3. ปล่อยปลาเพศผู้และเมีย อัตรา 1 : 2-5 โดยปล่อย 4 ตารางเมตร ต่อ 3 ตัว
4. เพศผู้จะทำรังโดยขุดหลุดที่บริเวณขอบบ่อ และผสมพันธุ์กับเพศเมีย เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วเพศเมียจะอมไข่ไว้ในปาก โดยเพศเมียจะวางไข่ครั้งละ 500 – 2,000 ฟอง และจะอมไข่นานประมาณ 10 วันโดยไม่กินอาหาร ไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 4 – 6 วัน
5. แม่ปลาจะพักฟื้น 4 – 6 สัปดาห์ ก่อนวางไข่ครั้งต่อไป
6. หลังจากคัดพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อ 45 – 60 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ประมาณ 5,000 – 60,000 ตัว/ไร่
7. หากอุณหภูมิน้ำในฤดูหนาวต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือฤดูร้อนสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ปลาจะไม่วางไข่
 การคัดพ่อแม่พันธุ์
1.คัดลักษณะที่ดีโตเร็วกว่าในรุ่นเดียวกัน
2.คัดปลาเพศเมียใช้ประมาณ20%ของจำนวนปลาเพศเมียทั้งหมด
3.คัดปลาตัวผู้มาใช้จำนวนครึ่งหนึ่งของปลาเพศเมีย
565

การเพาะขยายพันธุ์ปลานิลและทับทิมในบ่อซีเมนต์
1. ควรมีพื้นที่ต่อบ่อไม่น้อยกว่า 50 ตารางเมตร กักเก็บน้ำสูงไม่ต่ำกว่า 1 ม. มีท่อ เติมและระบายน้ำที่ดี
2. ควรอยู่กลางแจ้งและมีการคลุมหลังคาบางส่วนประมาณ 30 – 50 % ของบ่อ
3.อัตราการปล่อย3ตัว/ตารางเมตรอัตราส่วนเพศผู้ต่อเมีย1:2
4.เก็บลูกปลาหลังจากปล่อยเพาะ20วัน
5.ผลผลิตที่ได้ประมาณ500–1,000ตัว/ตารางเมตร/เดือน
การเพาะพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิมในกระชัง
1.ใช้กระชังอวนมุ้งฟ้าความถี่ของตาอวนไม่ต่ำกว่า18ตา/นิ้ว
2.ความลึกของกระชังไม่ต่ำกว่า1เมตร
3.อัตราการปล่อย3-6ตัว/ตารางเมตร
4.อัตราส่วนเพศผู้ต่อเมีย1:2-3
5. เก็บผลผลิตทุก ๆ 20 วัน ได้ลูกปลา 500 – 1,000 ตัว/ตารางเมตร/เดือน
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิมให้ได้ผลดี
1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)
2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์แต่มีอัตราการเสี่ยงสูงเพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง60%
3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)
1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้วจะแก้ไขไม่ได้
2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. – 11.00 น. – 13.30 น. – 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่  50-55กรัม)
3.หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)
4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500กรัม
5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)
004.



ตัวอย่างสูตรอาหารปลานิลแดง (ปลาทับทิม)
 
วัตถุดิบ 
โปรตีน 35%
โปรตีน 32%
โปรตีน 28%
 
(ลูกปลาอายุ 1 เดือน – 2 เดือน)
(ปลา 2 เดือน ถึง 3/3.5 เดือน)
(ปลา 3/3.5 เดือน- 4/4.5 เดือน)
 
ปลาป่น (58-60%)
35%
30%
24%
 
กากถั่วเหลือง
30%
30%
30%
 
ปลายข้าว
25%
30%
37%
 
สารเหนียว
5%
5%
5%
 
น้ำมันพืช
4%
4%
3%
 
วิตามิน+แร่ธาตุรวม
1%
1%
1%
 
วิตามิน ซี
0.1%
0.1%
0.1%
 
ราคา/กก. (บาท)
14.10
13.40
12.35
 
(ไม่รวมค่าวิตามิน+แร่ธาตุและวิตามิน ซี)
 
พลังงานในอาหาร (D.E)           ( kcal/100g )
385
382
375
 
พลังงาน/โปรตีน (P/E)
114
118
133
 
ลักษณะเด่น 9 ประการ ของปลาทับทิม
1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่น จึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น
2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์
3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนสันหนามาก
4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย
5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาว ทำให้น่ากิน
6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 ppt
008
7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก
8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ ได้ดี
9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร
ปลา ทับทิมดีนั้น เป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อแน่น หวานหอม
มีโภชนาการสูง อุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตรงนี้เอง
ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์บก อาจก่อให้เกิดการสะสมของไขมัน
ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิต
จึงเป็นการดีที่จะบริโภคเนื้อสัตว์น้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะเนื้อปลา
เป็นเนื้อสัตว์ที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ทำให้ไม่เกิดการสะสมในผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับหัวใจ
โรคความดันโลหิตนอกจากนี้ ปลาทับทิมที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป
คุณภาพสูงจะมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาน้ำจืด
ปลาน้ำกร่อย ตามธรรมชาติทั่วไปถึง 4 เท่าอีกด้วย โอเมก้า 3 คือ
กรดไขมันที่จำเป็นประเภทไม่อิ่มตัว ซึ่งมีผลดีมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
สรรพคุณของน้ำมันปลา (จากส่วนหัวและเนื้อปลา ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) คือ
1. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน
2. ช่วยบำรุงสมองเสริมสร้างความจำ
3. ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของโรคข้ออักเสบ
4. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ดังนั้น การบริโภคปลาหรือน้ำมันปลาเป็นประจำ จึงมีผลดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ราคา ขายของปลาทับทิมในขณะนี้ (ช่วงเดือนกรกฎาคม) อยู่ที่กิโลกรัมละ
45-60 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2551)
ราคาขายของปลาทับทิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 45-78 บา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น